- 12
- เก่า > ใหม่
-
23 ต.ค. 67 4 views
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗เวลา ๐๘.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ โดยมี นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมเข้าร่วม ณ พระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ ทั้งนี้ วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช”
-
22 ต.ค. 67 10 views
วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. นายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายเทคนิคการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping) โดยนายอิทธิพร วันดี ที่ปรึกษาการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างทีมแบบเสริมพลังและการจัดการความรู้ มีเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาเข้าร่วม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา และห้องสมุด ชั้น ๒ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
-
22 ต.ค. 67 9 views
กรมการศาสนา ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและเเต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและเเต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ ร่วมกับสำนักงาน กพ. ผ่านระบบ Zoom โดยมีนายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ กระทรวงวัฒนธรรม
-
22 ต.ค. 67 5 views
วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายประภาส แก้วสวรรค์ ผู้อำนวยการกองพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมคุณธรรม กรมการศาสนา เป็นประธานการประชุมกองพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมคุณธรรม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๗ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กองพัฒนามาตรฐานการส่งเสริมคุณธรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
-
21 ต.ค. 67 3 views
วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมการจัดโครงการสวดโอ้เอ้วิหารราย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๘ (ส่วนภูมิภาค) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ผ่านระบบ Zoom พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนา ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร
-
18 ต.ค. 67 3 views
วันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนาประชุมเพื่อพิจารณาการกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ของกระทรวงวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ กระทรวงวัฒนธรรม
-
18 ต.ค. 67 10 views
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 07.00 น. กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา จัดพิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เนื่องในเทศกาลออกพรรษา ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีพระพรหมวชิราธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานฝ่ายพิธีฆราวาส พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้แทนหน่วยงาน เข้าร่วมในพิธี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ วัดมหาธาตุยุราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และองค์กรเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา จัดพิธีทำบุญ ตักบาตรเทโวโรหณะ พระสงฆ์ 79 รูป เนื่องในเทศกาลวันออกพรรษาประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ตระหนักและเห็นคุณค่าของประเพณีที่ส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนได้กลับมาทำบุญร่วมกัน น้อมคติธรรมเรื่องการอยู่ร่วมกันและหลักของการอ่อนน้อมถ่อมตนมาปฏิบัติใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตนในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี วันออกพรรษา หรือเรียกว่า วันมหาปวารณา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ คือ 1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้) 2. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน 3. ฉันคณโภชน์ได้ (โภชนะที่คณะรับนิมนต์ไว้) 4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ) 5. จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง) ซึ่งประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น 15 เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ก็ได้ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาแทนอุโบสถสังฆกรรม ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ที่ทำปวารณาต่อกัน ใจความของคำปวารณาคือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในเมื่อเหตุความผิดพลั้งหรือความไม่ดีงามของกันและกัน เพื่อความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ และความบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนพึงบำเพ็ญกุศลด้วยการทำบุญ ตักบาตร รับศีล ฟังพระธรรมเทศนาเพื่อเกิดความสะอาด สงบ และร่วมกันสืบทอดประเพณีทางพระพุทธศาสนาสืบไป
-
17 ต.ค. 67 5 views
วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น. อธิบดีกรมการศาสนา มอบหมายให้ นายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ แก่โรงเรียนสถานศึกษาที่เข้าร่วมสวดโอ้เอ้วิหาราย ณ ศาลาราย รอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ออกกลางพรรษา) มีทั้งหมด 12 โรงเรียนได้แก่ ๑. ศาลาที่ ๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ ๒. ศาลาที่ ๒ โรงเรียนตะโกดอนหญ้านาง ๓. ศาลาที่ ๓ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ๔. ศาลาที่ ๔ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก ๕. ศาลาที่ ๕ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา ๖. ศาลาที่ ๖ โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ๗. ศาลาที่ ๗ โรงเรียนมหาวีรานุวัตร ๘. ศาลาที่ ๘ โรงเรียนพนมดงรักวิทยา ๙. ศาลาที่ ๙ โรงเรียนบางปะหัน ๑๐. ศาลาที่ ๑๐ โรงเรียนวัดนิมมานรดี ๑๑. ศาลาที่ ๑๑ โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ๑๒. ศาลาที่ ๑๒ โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง
-
17 ต.ค. 67 2 views
วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ กรมการศาสนา โดยกองศาสนพิธี จัดกิจกรรมสวดโอ้เอ้วิหารราย (ช่วงออกพรรษา) ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ ซึ่งในพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มีโรงเรียนเข้าร่วมจำนวน ๑๒ โรงเรียน ณ ศาลาราย รอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ ๑. ศาลาที่ ๑ วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพณิชยการ ๒. ศาลาที่ ๒ โรงเรียนตะโกดอนหญ้านาง ๓. ศาลาที่ ๓ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ๔. ศาลาที่ ๔ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก ๕. ศาลาที่ ๕ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา ๖. ศาลาที่ ๖ โรงเรียนเตรียม อุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ๗. ศาลาที่ ๗ โรงเรียนมหาวีรานุวัตร ๘. ศาลาที่ ๘ โรงเรียนพนมดงรักวิทยา ๙. ศาลาที่ ๙ โรงเรียนบางปะหัน ๑๐. ศาลาที่ ๑๐ โรงเรียนวัดนิมมานรดี ๑๑. ศาลาที่ ๑๑ โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส ๑๒. ศาลาที่ ๑๒ โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง ทั้งนี้นักสวดพระมหาชาติคำหลวง เจ้าหน้าที่กองศาสนพิธี กรมการศาสนา ได้สวดมหาชาติคำหลวง ณ ภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นสืบสานพระศาสนาและรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติที่มีหนึ่งเดียวในโลก พระมหาชาติคำหลวง เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับอดีตพระชาติของพระพุทธเจ้าในชาติที่ ๑๐ คือพระมหาเวสสันดรชาดก เล่าถึงเมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญทานบารมีอันเป็นยอดหลายประการมีการแจกทานเป็นนิจ ส่วนการสวดไอ้เอ้วิหารราย คือ การสวดทำนองกาพย์กลอนของเด็กนักเรียน ซึ่งใช้สวดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ วาระ ประกอบด้วยช่วงต้นพรรษา ระหว่างขึ้น ๑๔ ค่ำ - แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ช่วงกลางพรรษา ระหว่างแรม ๑๓ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ และขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ช่วงออกพรรษา ระหว่างขึ้น ๑๔ - แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในปัจจุบัน การสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้นจะสวดตามศาสารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดยแต่เดิมนั้น การโอ้เอ้วิหารราย เป็นทํานองการสวดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ควบคู่กับการสวดมหาชาติคําหลวง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นักสวด ที่ได้รับการคัดเลือกให้สวดในวิหารใหญ่ ต้องเป็นผู้ที่สวดดี สวดคล่องแคล้ว แม่นยําในอักขระเพราะต้องสวดต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว จึงเรียกการสวดเหล่านี้ว่า “สวดมหาชาติคําหลวง” สําหรับนักสวดที่ไม่ได้รับการคัดเลือก และสวดอยู่ตามวิหารรายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จะเรียกว่า “สวดโอ้เอ้วิหารราย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การสวดมหาชาติคําหลวง และโอ้เอ้วิหารรายยังคงถือปฏิบัติสืบทอดกันมา ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่โรงทานข้างประตูต้นสน เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา โปรดเกล้าฯ ให้จัดนักเรียนมาสวดที่ศาลารายด้านเหนือของ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ทรงให้เปลี่ยนการสวด “มหาชาติคําหลวง” เป็นการสวด “เทียบมูลบท” แทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการสวดเทียบมูลบท ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ฟังมากนัก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานสวด “กาพย์พระไชยสุริยา” ของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นตําราเรียนในสมัยนั้นมาใช้เป็นบทสวดโอ้เอ้วิหารราย และใช้มาถึงในยุคสมัยปัจจุบัน ประกอบด้วย กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
-
16 ต.ค. 67 2 views
วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. ถึง ๑๖.๓๐ น. นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา มอบหมายให้ นายธีทัต พิมพา รองอธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานการประชุมการจัดกิจกรรมบุญแห่งศรัทธา Winter festival “เสน่ห์แห่งสยาม งามอร่ามด้วยธรรมก้าวล้ำด้วยศรัทธา ๒๕๖๘” โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๒ กระทรวงวัฒนธรรม
-
16 ต.ค. 67 3 views
วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ น. (ตามเวลาสาธารณรัฐประชาชนจีน) นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เข้าชมนิทรรศกาพระศรีอริยเมตตรัย ที่รวบรวมโบราณวัตถุ ภาพวาด เอกสารสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในสมัยต่าง ๆ นิทรรศการประกอบด้วย ๓ หัวข้อย่อย ที่มุ่งเน้นไปที่วัฒนธรรมชาวพุทธทั่วโลก การสืบทอดพุทธศาสนาแบบจีน รวมถึงงานประติมากรรม ภาพถ่าย และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งเผยให้เห็นว่าประเพณีวัฒนธรรมจีนมีส่วนช่วยในศิลปะพุทธศาสนาทั่วโลกอย่างไร นอกจากนี้ นิทรรศการยังนำเสนอรูปปั้นจำลองจากการพิมพ์ ๓ มิติขนาดเท่าของจริงจากถ้ำ Mogao และมีการติดตั้งอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น การออกแบบมัลติมีเดียและอินเทอร์แอคทีฟเพื่อดึงดูดผู้ชมทั่วโลก การประชุมพระพุทธศาสนาโลก แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนามีการแบ่งปันกันในโลกทีพัฒนาอย่างไรผ่านการแลกเปลี่ยนด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน การประชุมพุทธศาสนาโลกซึ่งริเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยประเทศจีน เป็นงานที่เกิดขึ้นทุกๆ ๓ ปี และได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นเวทีพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดสำหรับการแลกเปลี่ยนและการเสวนาทางพระพุทธศาสนาระหว่างประเทศ...
-
16 ต.ค. 67 7 views
วันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ กรมการศาสนา โดยกองศาสนพิธี จัดกิจกรรมสวดโอ้เอ้วิหารราย (ช่วงออกพรรษา) ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ ซึ่งในอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ ตรงกับขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มีโรงเรียนเข้าร่วมจำนวน ๑๒ โรงเรียน ณ ศาลาราย รอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ ๑. ศาลาที่ ๑ โรงเรียนอู่ทอง ๒. ศาลาที่ ๒ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ยานนาเวศ ๓. ศาลาที่ ๓ โรงเรียนท่ามะขามวิทยา ๔. ศาลาที่ ๔ โรงเรียนสตรีวิทยา ๕. ศาลาที่ ๕ โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส ๖. ศาลาที่ ๖ โรงเรียนธนสิทธิ์อนุสรณ์ ๗. ศาลาที่ ๗ โรงเรียนมีนบุรี ๘. ศาลาที่ ๘ สถาบันวิจัย พัฒนาและสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๙. ศาลาที่ ๙ โรงเรียนวัดอินทาราม ๑๐. ศาลาที่ ๑๐ โรงเรียนวัดชนะสงคราม ๑๑. ศาลาที่ ๑๑ โรงเรียนวัดบ่อตะกั่ว (พ่วงประชานุกูล) ๑๒. ศาลาที่ ๑๒ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ทั้งนี้นักสวดพระมหาชาติคำหลวง เจ้าหน้าที่กองศาสนพิธี กรมการศาสนา ได้สวดมหาชาติคำหลวง ณ ภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นสืบสานพระศาสนาและรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติที่มีหนึ่งเดียวในโลก พระมหาชาติคำหลวง เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับอดีตพระชาติของพระพุทธเจ้าในชาติที่ ๑๐ คือพระมหาเวสสันดรชาดก เล่าถึงเมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญทานบารมีอันเป็นยอดหลายประการมีการแจกทานเป็นนิจ ส่วนการสวดไอ้เอ้วิหารราย คือ การสวดทำนองกาพย์กลอนของเด็กนักเรียน ซึ่งใช้สวดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ วาระ ประกอบด้วยช่วงต้นพรรษา ระหว่างขึ้น ๑๔ ค่ำ - แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ช่วงกลางพรรษา ระหว่างแรม ๑๓ - ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ และขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ช่วงออกพรรษา ระหว่างขึ้น ๑๔ - แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในปัจจุบัน การสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้นจะสวดตามศาสารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดยแต่เดิมนั้น การโอ้เอ้วิหารราย เป็นทํานองการสวดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ควบคู่กับการสวดมหาชาติคําหลวง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นักสวด ที่ได้รับการคัดเลือกให้สวดในวิหารใหญ่ ต้องเป็นผู้ที่สวดดี สวดคล่องแคล้ว แม่นยําในอักขระเพราะต้องสวดต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว จึงเรียกการสวดเหล่านี้ว่า “สวดมหาชาติคําหลวง” สําหรับนักสวดที่ไม่ได้รับการคัดเลือก และสวดอยู่ตามวิหารรายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จะเรียกว่า “สวดโอ้เอ้วิหารราย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การสวดมหาชาติคําหลวง และโอ้เอ้วิหารรายยังคงถือปฏิบัติสืบทอดกันมา ครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นที่โรงทานข้างประตูต้นสน เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา โปรดเกล้าฯ ให้จัดนักเรียนมาสวดที่ศาลารายด้านเหนือของ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้ทรงให้เปลี่ยนการสวด “มหาชาติคําหลวง” เป็นการสวด “เทียบมูลบท” แทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการสวดเทียบมูลบท ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ฟังมากนัก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานสวด “กาพย์พระไชยสุริยา” ของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นตําราเรียนในสมัยนั้นมาใช้เป็นบทสวดโอ้เอ้วิหารราย และใช้มาถึงในยุคสมัยปัจจุบัน ประกอบด้วย กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘